วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

NASA กับดาวอังคาร

0049_9.gif


"I'll be back" คอหนังเทศคงจะคุ้นหรือว่าเคยได้ยินประโยคมาแล้วนะครับ ใช่แล้วครับ มาจากหนังเรื่อง Terminator ที่พี่บึ้กอาโนลด์แกพูดเอาไว้น่ะครับ เอ จะเอามาใช้กับบทความได้หรือเปล่าหว่า อิ อิ ผมคิดไปพิมพ์ไป หึ หึ ก็หลังจากห่างหายไปนานเลยกับทฤษฎีสมคบคิด (Conspiracy Theory) ก็ได้ฤกษ์กลับมาอีกครั้งนึง ยัง ยัง ไม่หมดก๊อกครับ แต่ว่ายังจะมีคนคิดถึงและอยากอ่านอยู่อีกมั๊ยเนี่ย ?? คราวนี้ก็กลับมานำเสนอความบันเทิงเล็กๆ น้อยๆ แก่ท่านผู้อ่านอีกครั้งนึง ดูจากที่จั่วหัวไว้ก็คงจะรู้แล้วนะครับว่า เป็นเรื่องของทาง NASA กับ ดาวอังคาร (Mars) อีกแล้ว (ซึ่งตอนต่อไปหรือตอนที่ 10 จะเกี่ยวกับการนำเสนอของยานสำรวจ) เอาน่าๆ อ่านแบบสนุกๆ กันดีกว่า อย่าเพิ่งเบื่อหรือว่าเซ็งกับ Conspiracy Theory กันซะก่อนละ ^O^ คราวนี้หลังจากที่ผมได้ข้อมูลที่น่านำเสนอมาอยู่ในมือหลังจากท่องไปในโลกของ Cyber Space หรือ Internet ที่คุ้นเคยกันมาอยู่ชิ้นนึง ก็เรียกว่าน่าสนใจอยู่เหมือนกัน (หลายๆ คนอาจจะกำลังหมั่นไส้ผม อิอิ ว่าไม่ยอมเข้าเรื่องซะทีนึง)


จะว่าไปการสำรวจกาแล็กซี (Galaxy) ของมนุษยชาติ (จริงๆ แล้วน่าจะบอกว่าเป็นของทางอเมริกาหรือรัสเซียมากฝ่านา) เพื่อหาสิ่งมีชีวิตที่ทรงปัญญา (Intelligent Life) นั้น ได้ทำมาก็หลายร้อยปีแล้ว ทั้งข้อมูลข่าวสารที่ มีในส่วนที่เรารู้และไม่รู้ของทางองค์กร หรือรัฐบาลต่างๆ ในโลก (แน่นอนว่าย่อมเป็นแค่ชาติมหาอำนาจเท่านั้น) อย่างที่หลายคนหลายท่านอาจจะติดตามข่าวสารการสำรวจพิภพจักรวาลกัน อย่างใจจดใจจ่อ แต่มาจนถึงวันนี้ข่าวสารหรือข้อมูลที่มีมาสู่ประชาคมโลกอย่างเราๆ ดูเหมือนแทบจะไม่ค่อยมีอะไรมากไปกว่า รายงานเล็กๆ น้อย หรือภาพถ่ายที่นานๆ จะมีจุดที่ฮือฮากันซักทีนึง คิดๆ แล้วก็แปลกดีนะครับกับการสำรวจที่ลงทุนคราวละเป็นพันๆ หมื่นๆ ล้านดอลลาร์ แต่ได้ผลกลับมาไม่เท่าไหร่ ในแง่ของการนำเสนอสู่ประชาชนนะ

อย่างน้อยก็ชาวโลกอย่างเราเรียกได้ว่าแทบจะไม่รู้หรือมีรายละเอียดที่คุ้ม ค่าหรือว่าสูสีกับการลงทุนเลย แล้วกับทาง NASA ละ จะคุ้มค่าพอเหรอครับ ? แหม อันนี้อยากรู้จัง ตรงนี้ "ไม่นับก้าวแรก" ของการออกนอกอวกาศ การไปลงบนดวงจันทร์ การส่งยานไปบนดาวอังคาร ถ้าเป็น "ก้าวแรก" ซึ่งเราอาจจะไม่ชำนาญหรือไม่รู้เส้นทาง หรือว่าปัจจัยต่างๆ ในการสำรวจ ก็ไม่น่าแปลกใช่มั๊ยครับที่จะมัวสำรวจหรือว่าเดินอยู่ที่เดิม ก็เหมือนกับการที่เราไปเที่ยวที่ที่นึงแหละ ทีแรกเราอาจจะไม่รู้สถานที่หรือเส้นทางดีนัก ซึ่งอาจจะใช้เวลามากหน่อยในการสำรวจหรือว่าดูอะไรๆ นานหน่อย แต่พอครั้งต่อไป เราย่อมจะ "ชำนาญ" พื้นที่หรือเส้นทาง "มากขึ้น" ใช่มั๊ยครับ แล้วถ้าเราไปที่ที่เราเที่ยวบ่อยๆ เราจะเดินหรือว่าย่ำอยู่ที่เดิมๆ มั๊ย ?? แต่ถ้าคิดในแง่ที่ว่า ณ บริเวณนั้นมี "บางสิ่ง" หรือ "บางอย่าง" ที่น่าสนใจเป็นพิเศษละ อันนี้ก็ไม่แน่เหมือนกันนา
จะว่าไปก็เป็นคำถามที่น่าคิดนะครับ และถ้าคิดในทำนองเดียวที่ว่ากับการสำรวจอวกาศของ NASA นั่นแหละ จะมีอะไรเป็นพิเศษในการสำรวจทุกๆ ครั้งหรือไม่ ? ทาง NASA อาจจะกำลังปิดบังอะไรเราอยู่หรือเปล่า ? อันนี้ผมก็ไม่รู้ครับ เหอ เหอ O_O


0049_10.jpg


มีการตั้งทฤษฎีพิลึกๆ ออกมาจาก Dr.More (เค้าเรียกตัวเองว่ายังงั้น และอ้างว่าตัวเองเป็นเจ้าหน้าที่คนนึงในองค์การ NASA) ซึ่งทาง Dr.More เนี่ยบอกว่าในการส่งดาวเทียม (Satellites) ไปดาวอังคารเนี่ย รายละเอียดการสำรวจส่วนนึงมักจะถูกปกปิดเอาไว้ซึ่งจะรู้ได้เฉพาะเจ้าหน้าที่ ระดับสูงเท่านั้น นึกภาพออกมั๊ยครับ เคยเห็นเอกสารลับของทางรัฐบาลที่ถูกขีดทับด้วยหมึกสีดำมั๊ย ยังไงยังงั้นเลย เค้าดรียกว่าปกปิด (Cover) แน่ะ และก็จะถูก Sensor อีกครั้งโดยเจ้าหน้าที่เฉพาะชุดนึงก่อนที่จะนำมากรองข่าวสารเพื่อที่จะนำ เสนอโดยเจ้าหน้าที่ของ NASA จากนั้นก็จะนำไปแถลงการณ์หรือว่าเสนอข่าวต่อประชาชนอีกที ซึ่ง Dr.More เค้าบอกว่าหลังจากที่แอบสืบอย่างลับๆ อยู่นานจึงพอที่จะได้ข้อมูลบางส่วนของ NASA มาเล่าสู่กันฟังครับ ซึ่งเรื่องที่ Dr.More เล่าเนี่ยตะแกมีเฉพาะข้อมูลและจับประเด็นที่ว่า "ดาวเทียมมักจะถูกทำลายหรือขัดข้อง" ในช่วงที่ทำการสำรวจดาวอังคารอยู่เสมอ ซึ่งจากการส่งยานสำรวจไปหลายลำ Mars Pathfinder, Mars Global Surveyor และอีกหลายๆ ลำ ซึ่งทุกลำครับ เมื่อมีการสำรวจไปไกลเกินกว่าจุด Landing หรือว่าลงจอดไปหน่อย ไม่ใช่ไกลแค่เมตรหรือ 100 เมตรนะครับ เค้าว่าเป็นหลายกิโลเมตรแน่ะ ก็มักจะเกิดการชำรุดหรือว่าขัดข้องขึ้นมาทุกครั้ง แรกๆ ก็ไม่มีใครเอะใจ นึกว่าเกิดขัดข้องทางเทคนิค บรรยากาศของดาวอังคารหรืออะไรก็ว่าไป แต่พอหนักๆ เข้า มันกลับไม่ใช่อย่างที่คิดกันแล้วน่ะซิครับ และเคยเกิดกรณีที่ว่าเคยมีการสูญเสียการติดต่อกับดาวเทียมดวงหนึ่งขณะที่ สำรวจดาวอังคารโดยฉับพลัน จนเวลาผ่านไปหลายเดือน จู่ๆ วันหนึ่งก็กลับติดต่อกับดาวเทียมดวงนี้ได้

แต่ทว่าดาวเทียมดวงนี้ได้โคจรออกนอกเส้นทางไปไกลเกินกว่าที่ตั้งโปรแกรม สำรวจไว้ เกิดอะไรขึ้นละครับ ? ในช่วงเวลาหลายเดือนดาวเทียมดวงนี้ได้ไปอยู่ที่ไหนมา ก็เป็นปัญหาของทาง NASA เองก็กำลังขบคิดอยู่เหมือนกัน มาต่อกันที่ Dr.More เค้าว่า NASA อาจจะพบอะไรบางอย่างที่ดาวอังคารที่แปลกหรือไม่ธรรมดาจึงพยายามส่งดาวเทียม ไปสำรวจอยู่เสมอ และข้อแน่ใจอีกอย่างว่ามีอะไรผิดปกติก็คือดาวเทียมมักจะขาดการติดต่อสื่อสาร ทุกครั้งที่เริ่มสำรวจไปได้ระดับหนึ่ง ทำให้คิดกันว่าจะต้องมี "อะไร" หรือ "ใคร" มาทำอย่างนี้แน่ๆ โดยคิดจากความน่าจะเป็นแล้ว ดาวเทียมไม่น่าที่จะเสียหรือเกิดข้อความขัดข้อง ณ จุดหรือตำแหน่งเดิมๆ ได้ทุกครั้งไป ว่ากันมั๊ยครับ ?

ที่มา : http://www.mythland.org/v3/thread-39-1-1.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น